วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554
สรุปการฝึกปฏิบัติงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
สถานที่ปฏิบัติงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครปฐม
1. ได้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการรับคำร้องในการขอมิเตอร์ไฟฟ้า
2. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับโปรแกรมการออกคำร้องขอมิเตอร์ไฟฟ้า
3. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานธุรการ
4. ได้ทักษะในการพูดกับลูกค้า
5. ได้รับความไว้วางใจและความมีน้ำใจจากพี่ ๆ ทุกแผนก
วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 18 (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554)
งานที่ปฏิบัติ
- ค้นหาหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 15 ราย
- ออกคำร้องขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้า 10 ราย
- ปริ้นใบขอคืนเงินประกัน 100 แผ่น
- เดินหนังสือไปแผนกก่อสร้าง แผนกบัญชี แผนกละ 2 ชุด
- รับโทรศัพท์ลูกค้า 16 สาย
สภาพปัญหา
- กระดาษปริ้นงานหมด
การแก้ไขปัญหา
- นำกระดาษมาเติม
ประโยชน์ที่ได้รับ
- สามารถที่จะค้นหาหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้าโดยที่ไม่ต้องนำใบเสร็จค่าไฟฟ้ามาดู
วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 17 (วันที่ 21 – 25 กุมภาพันธ์ 2554)
สัปดาห์ที่ 16 (วันที่ 14 – 17 กุมภาพันธ์ 2554)
วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 15 (วันที่ 7 – 11 กุมภาพันธ์ 2554)
งานที่ปฏิบัติ
1. ค้นหาเอกสารคำร้องขอใช้ไฟฟ้าในแฟ้มเพื่อให้ลูกค้านำไปชำระเงินค่ามิเตอร์จำนวน 15 ราย
2. ตรวจเช็คเงินประกันค่ามิเตอร์จำนวน 25 ราย
3. ปริ้นใบนัดหมายขอมิเตอร์จำนวน 45 แผ่น
4. เรียงเอกสารคำร้องขอใช้ไฟฟ้าใส่แฟ้มตั้งหมายเลข 5400542 – 54006055
5. ปริ้นใบการตรวจสอบการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าก่อนจ่าย – หลังจ่ายไฟฟ้าจำนวน 100 แผ่น
6. พิมพ์งานเรื่อง "รายงานการประชุม กิจกรรมคุณภาพ 7 ส" จำนวน 4 หน้า
7. ค้นหาเบอร์โทรศัพท์ชองผู้ใช้ไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์จำนวน 15 ราย
8. ออกคำร้องการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าจำนวน 26 ราย
9. รับคำร้องการขอใช้ไฟฟ้า 15 ราย
สภาพปัญหา
1. ขณะพิมพ์งานเกิดไฟดับทำมห้งานเกิดความล่าช้า
2. กระดาษปริ้นหมด
3. ลูกค้าบางรายไม่มีเบอร์โทรศัพท์ในการโทรติดต่อ
4. ออกคำร้องการขอใช้ไฟฟ้าผิดประเภท
การแก้ไขปัญหา
1. ต้องรอให้ไฟมาถึงทำงานต่อได้จนสำเร็จ
2. นำกระดาษมาเติม
3. หาที่อยู่ของลูกค้าแทนเบอร์โทรศัพท์
4. ทำการออกคำร้องใหม่ให้ถูกประเภท
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. รู้วิธีการจัดพิมพ์รายงานวาระการประชุม
2. รู้วิธีการค้นหาเบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้มิเตอร์ไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์ได้
วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 14 (วันที่ 31 – 4 กุมภาพันธ์ 2554)
งานที่ปฏิบัติ
1. ค้นหาเอกสารคำร้องขอใช้ไฟฟ้าในแฟ้มให้ลูกค้านำไปชำระเงิน 10 ราย
2. ส่งแฟกซ์เอกสารแจ้งค่าใช้จ่ายในการขยายเขตไฟฟ้า
3. เดินหนังสือไปแผนก มิเตอร์ บัญชี ปฏิบัติการ และก่อสร้างแผนกละ 4 ชุด
4. ค้นหาเบอร์โทรศัพท์ผู้ใช้ไฟฟ้า 15 ราย
5. รับโทรศัพท์ลูกค้า 18 สาย
6. ออกคำร้องในการขอใช้ไฟฟ้า 16 ราย
7. ทำเรื่องขอรับเงินประกันคืนให้กับลูกค้า 5 ราย
8. ปริ้นใบขยายเขตแรงต่ำ 20 ใบ
สภาพปัญหา
1. ค้นหาเอกสารในแฟ้มให้ลูกค้าไม่พบ
2. การส่งแฟกซ์มีปัญหา
3. กระดาษปริ้นงานหมด
การแก้ปัญหา
1. นำเลขคำร้องไปค้นหาในระบบคอมพิวเตอร์ก่อน และค่อยมาหาในแฟ้มงาน
2. สอบถามพี่ที่เกี่ยวข้องมาช่วยดูแฟกซ์ให้
3. นำกระดาษมาเติม
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. สามารถที่จะตอบคำถามลูกค้าได้ดีกว่าเดิมมากขึ้น
วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 13 วันที่ (24- 28 มกราคม 2554)
งานที่ปฏิบัติ
1. เช็คขนาดมิเตอร์และเงินประกันให้ลูกค้า 20 ราย
2. ออกเลขที่หนังสือและถ่ายเอกสารค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมิเตอร์ขายขาด(สับมิเตอร์)ของเจ้ากรมการสัตว์ทหารบก ค่ายทองฑีฆายุ 1 ฉบับ 3 ชุด
3. เรียงเอกสารคำร้องขอใช้ไฟฟ้าเข้าแฟ้มตั้งแต่หมายเลข 5400404- 5400414
4. ค้นหาเบอร์โทรศัพท์ผู้ใช้ไฟ 25 ราย
5. ตรวจสอบหมายเลขผู้ใช้ไฟให้ตรงกับข้อมูลที่พนักงานทำการสำรวจ 15 ราย
6. ปริ้นใบนัดหมายมิเตอร์ 10 แผ่น
7. ปริ้นใบตรวจสอบการติดตั้งมิเตอร์ก่อน-หลังจ่ายไฟฟ้า 50 แผ่น
8. ปั้มตรายางลงในคำร้องขอใช้ไฟฟ้า 15 ชุด
สภาพปัญหา
1. ผู้ใช้ไฟฟ้าบางรายไม่มีเบอร์โทรศัพท์
2. ปั้มตรายางลงในคำร้องผิด
3. ขนาดมิเตอร์ที่ทำการเช็คในคอมพิวเตอร์มีข้อมูลไม่ตรงในคำร้อง
การแก้ปัญหา
1. เอาข้อมูลในส่วนของที่อยู่มาแทนเบอร์โทรศัพท์
2. ทำการลบและปั้มให้ถูกต้อง
3. ทำการแก้ไขข้อมูลในคอมพิวเตอร์ให้ตรงกับในคำร้อง
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. รู้และมีความเข้าใจในเรื่องมิเตอร์แต่ละขนาดว่าแตกต่างกันอย่างไร
2. รู้วิธีการออกเลขที่หนังสือ
วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 12 (วันที่ 17 – 21 มกราคม 2554)
วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 11 (วันที่ 10-14 มกราคม 2554)
1.สร้างแบบฟอร์มใบสมุดลงรายการปฏิบัติงานนอกสถานที่จำนวน 1 เล่ม
2.ปริ้นใบการขอไฟฟ้าเหมาวัตต์ 20 แผ่น
3.ออกเลขที่หนังสือและถ่ายเอกสารขายฝากมิเตอร์ 3 ชุด
4.พิมพ์รายงานการประชุม กิจกรรมคุณภาพ QC
5.แก้ไขรายงานการประชุม กิจกรรมคุณภาพ QC
6.ตัดใบนัดหมายขอมิเตอร์จำนวน 45 ใบ
7.ค้นหาหมายเลขเบอร์โทรศัพท์ลูกค้าให้เจ้าหน้าที่แผนกบัญชี 4 ราย
8.ตรวจเช็คเงินประกันให้ลูกค้า 10 ราย
9.พิมพ์งาน รายงานการประชุม กิจกรรม QC ครั้งที่ 2
สภาพปัญหา
1.คอมพิวเตอร์เสียทำให้การทำงานเกิดความล้าช้า
2.สร้างแบบฟอร์มรายการปฏิบัติงานนอกสถานที่ผิด
3.พิมพ์รายงานการประชุม กิจกรรมคุณภาพ QC ผิด
การแก้ไขปัญหา
1.รอคอมพิวเตอร์ตัวใหม่มาเปลี่ยนกับตัวที่เสีย
2.ทำการแก้ไขแบบฟอร์มให้ถูกต้อง
3.ตรวจสอบเนื้อหาให้ละเอียด ถูกต้อง และชัดเจน
วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 10 (วันที่ 4-7 มกราคม 2554)
งานที่ปฏิบัติ
1. เช็คเงินประกันค่ามิเตอร์ให้ลูกค้า
2. ลงรับหนังสือเรื่องขอติดตั้งมิเตอร์ที่แผนกธุรการ
3. ปริ้นใบนัดหมายขอมิเตอร์ 5 แผ่น
4. ตัดกระดาษใบนัดหมายขอมิเตอร์รวม 45 แผ่น
5. ออกเลขที่หนังสือและถ่ายเอกสารค่าใช้จ่ายในการขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า 4 ชุด
6. นำแฟ้มสรุปงานแผนกบริการลูกค้าเสนอผู้ช่วยเซ็นต์
สภาพปัญหา
1. ชื่อในใบเสร็จเฝินไม่ตรงกับใบคืนเงินประกัน
2. ตัดกระดาษใบนัดหมายขอมิเตอร์เบี้ยว
3. ออกเลขที่หนังสือผิดตำแหน่ง
การแก้ไขปัญหา
1. ทำการเช็คและตรวจดูว่าว่าชื่อใบไหนถูกต้อง
2. ตัดกระดาษอย่างระมัดวัง
3. ทำการแก้ไขโดยการลบและออกเลขหนังสือใหม่
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. รู้วิธีการลงรับหนังสือ
2. เข้าใจในเรื่องของการขยายเขตไฟฟ้าแรงตำ่มากขึ้น
วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554
สัปดาห์ที่ 9 (วันที่ 27 – 30 ธันวาคม 2553)
งานที่ปฎิบัติ
1. นำแฟ้มงานแผนกบริการลูกค้าไปเสนอให้ผู้ช่วยคณิตเซ็นต์
2. ส่งแฟกซ์ 2 แผ่น
3. ปริ้นใบหนังสือมอบอำนาจ 20 แผ่น
4. เดินเอกสารไปให้แผนกมิเตอร์ ปฏิบัติการ ก่อสร้าง และบัญชีเซนต์รับแผนกละ 4 ฉบับ
5. ปริ้นใบก่อนจ่าย-หลังจ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า 20 แผ่น
6. ออกเลขที่หนังสือแก้ไขแบบแผนผังงานก่อสร้างและถ่ายเอกสาร 6 ชุด
7. ออกคำร้องย้ายจุดติดตั้งและเพิ่มขนาดมิเตอร์ 6 ราย
8. ปั้มตรายางลงบนแบบคำร้องขอใช้ไฟฟ้า 20 ชุด
สภาพปัญหา
1. เครื่องส่งแฟกซ์ไม่ยอมทำงาน
2. ไม่มีคนเซ็นต์รับหนังสือที่แผนกมิเตอร์
3. โปรแกรมออกคำร้องค้าง
การแก้ไขปัญหา
1. เรียกพี่ที่ดูแลการส่งแฟกซ์มาทำให้
2. วางเอกสารไว้บนโต๊ะรอให้คนที่แผนกมาเซ็นต์รับ
3. ทำการรีสตาร์ทคอมพิวเตอร์แล้วเปิดโปรแกรมขึ้นมาใหม่
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. สามารถทำการออกคำร้องย้ายจุดติดตั้งได้
วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 8 (วันที่ 20 – 24 ธันวาคม 2553)
งานที่ปฏิบัติ
1. ออกเลขที่หนังสือจำนวน 5 ฉบับ
2. ถ่ายเอกสารค่าใช้จ่ายในการขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้า 20 ชุด
3. ปริ้นใบหนังสือมอบอำนาจ 20 แผ่น
4. เจาะตาไก่และเรียงเอกสารใส่แฟ้มหมายเลข 5308510 – 5308622
หมายเลข 5308623 – 5308664
5. รับโทรศัพท์ลูกค้า 25 สาย
6. ปั้มตรายางลงบนเอกสารคำร้องของมิเตอร์ไฟฟ้า 28 ชุด
7. ปริ้นใบนัดหมายขอมิเตอร์พร้อมทั้งตัดออกเป็นแผ่น ๆ จำนวน 45 แผ่น
8. นำแฟ้มงานของแผนกบริการลูกค้าไปเสนอให้ผู้ช่วยคณิตเซ็นต์
9. ออกคำร้องขอใชไฟฟ้า ยกเลิกการใช้ไฟฟ้า โอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า
10.เดินเอกสารนำไปให้แผนกปฏิบัติการ แผนกบัญชี และแผนกก่อสร้างเซ็นต์รับเอกสารแผนกละ 4 ชุด
11.เช็คขนาดมิเตอร์และเงินประกันให้ลูกค้า 15 ราย
12.ปริ้นใบก่อนจ่าย-หลังจ่ายมิเตอร์ 30 แผ่น
สภาพปัญหา
1. กระดาษที่ใช้ปริ้นงานหมด
การแก้ปัญหา
1. นำกระดาษมาใส่เพิ่ม
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. รู้จักวิธีการใช้งานโปรแกรมออกคำร้องได้อย่างคล่องแคล่ว
2. มีความรู้ในการตอบคำถามแก่ลูกค้าได้จนทำให้ลูกค้าเข้าใจได้
วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 7 (วันที่ 13 – 17 ธันวาคม 2553)
งานที่ปฏิบัติ
1. ทำการเช็คการขอรับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืนให้กับลูกค้า
2. พิมพ์หน้าซองจดหมายและปริ้นหน้าซองถึงผู้อำนวยการ ร.ร.วัดตากแดด (รอดประชานุกูล)จำนวน 5 ซอง
3. ตัดกระดาษใบนัดหมายขอมิเตอร์จำนวน 50 แผ่น
4. ปริ้นใบหนังสือมอบอำนาจจำนวน 20 แผ่น
5. ออกคำร้องขอใช้ไฟฟ้าเกษตร ชั่วคราว ถาวร และยกเลิกการใช้ไฟฟ้าประมาณ 25 คำร้อง
6. ทำการคีย์ข้อมูลที่พนักงานทำการสำรวจตามที่อยู่ของผู้มาขอใช้ไฟฟ้าประมาณ 20 ชุด
7. ออกเลขที่หนังสือ 3 ชุด
8. ถ่ายเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้า 3 รายการ ๆ ละ 4 ชุด
9. ส่งแฟกซ์หนังสือมอบอำนาจ 1 แผ่น
10.ปั้มตรายางลงบนเอกสารแบบติดตามผลการดำเนินการการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้ากรณีเลิกใช้ไฟฟ้าและแบบคำร้องขอ ใช้ไฟฟ้าจำนวน 34 ชุด
11.เดินเอกสาร 2 ชุด
12.สรุปงานผู้ขอใช้ไฟฟ้าลงในสมุดส่งคำร้องจำนวน 12 ชุด
13.รับโทรศัพท์ลูกค้า
14.เรียงเอกสารเข้าแฟ้มตั้งแต่หมายเลข 5308310 – 5305009
สภาพปัญหา
1. ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่นำใบเสร็จค่าไฟมาจึงทำให้ไม่สามารถเช็คเงินประกันได้
2. เอกสารที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้านำมาไม่ถูกต้อง
3. ลูกค้าบางรายไม่เข้าใจที่เราอธิบายการขอใช้ไฟฟ้า
4. เนื่องจากแฟ้มที่ใส่เอกสารอยู่แล้วมีจำนวนเยอะจึงทำให้ไม่สามารถหาเอกสารล่าสุดได้การนำเอกสารใหม่มาเรียงต่อได้
การแก้ปัญหา
1. สอบถามชื่อที่ใช้ในการขอใช้ไฟฟ้า และนำชื่อมาค้นหาหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้าในการนำไปตรวจสอบเงินประกัน
2. ให้ลูกค้านำเอกสารมาให้ถูกต้องตามที่บอกในวันที่มาจ่ายค่ามิเตอร์
3. พยายามอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจ ถ้ายังไม่เข้าใจก็ให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้อธิบายแทน
4. ค่อย ๆ หาเอกสารหมายเลขล่าสุดที่ละแฟ้มจนกว่าจะเจอแฟ้มที่ใส่เอกสารล่าสุดและนำเอกสารหมายเลขใหม่มาเรียงต่อ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. มีความรู้ความเข้าใจในการใช้งานโปรแกรมค้นหาประวัติลูกค้า
2. รู้วิธีการตั้งค่าการพิมพ์หน้าซองจดหมาย
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 6 (วันที่ 7 – 9 ธันวาคม 2553)
งานที่ปฏิบัติ
1. นำใบติดตั้งและถอนคืนมิเตอร์ "ซีที","พีที" มาแนบติดกับใบแบบติดตามผลการดำเนินการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้ากรณีเลิกใช้ไฟฟ้าให้ตรงกับรายชื่อและแม็กเป็นชุด ๆ จำนวน 26 ชุด
2. ตัดกระดาษใบนัดหมายขอมิเตอร์จำนวน 36 แผ่น
3. ออกคำร้องขอใช้ไฟฟ้าชั่วคราว การยกเลิกการใช้ไฟฟ้า ไฟฟ้าเกษตร และการเพิ่มขนาดมิเตอร์รวมแล้วประมาณ 12 คำร้อง
4. ฉีกอากรแสตมป์เป็นคู่ ๆ จำนวน 50 คู่
5. เช็คดูเงินประกันค่ามิเตอร์ของลูกค้าให้กับแผนกมิเตอร์จำนวน 5 ราย
6. เรียงเอกสารแบบคำร้องขอใช้ไฟฟ้าใส่ในแฟ้มตั้งแต่หมายเลข 5308048 - 5308401
สภาพปัญหา
1. รายชื่อในใบติดตั้งและถอนคืนมิเตอร์ไม่ตรงกับในใบคืนเงินค่าประกันมิเตอร์
2. ลูกค้าบางรายนำเอกสารมาไม่ครบทำให้ไม่สามารถออกคำร้องได้
3. ขณะฉีกแสตมป์ทำขาดเป็นบางอัน
การแก้ปัญหา
1. ทำการแก้ไขรายชื่อให้ถูกต้อง
2. ออกคำร้องให้ลูกค้าไปก่อนและวันที่มาชำระเงินค่ามิเตอร์ค่อยนำเอกสารมาให้ครบ
3. ฉีกอย่างระมัดระวังไม่ทำขาดอีก
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. สามารถทำการออกเลขมต.3 ในคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง
2.มีความรู้ความชำนาญในการค้นหาข้อมูลลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 5 (วันที่ 29 – 3 ธันวาคม 2553)
งานที่ปฏิบัติ
1. ไปถ่ายเอกสารค่าใช้จ่ายในการขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า ของกรรมการผจก.บริษัท วรภัทร จำกัด จำนวน 4 ชุด
2. ป้อนข้อมูลในแบบคำร้องขอใช้ไฟฟ้าที่พนักงานออกไปสำรวจลงคอมพิวเตอร์จำนวน 28 ชุด
3. ตรวจสอบเอกสารของลูกค้าที่มาขอใช้ไฟฟ้า
4. เรียงเอกสารแบบคำร้องขอใช้ไฟฟ้าตั้งแต่หมายเลข 5307992 – 5308033 ใส่ในแฟ้มงาน
5. ปริ้นใบตรวจสอบการติดตั้งมิเตอร์ก่อน-หลังจ่ายไฟฟ้า 20 แผ่น
6. ช่วยพี่ๆในแผนกปฎิบัติงาน 5 ส. โดยการทำความสะอาดและจัดห้องที่แผนกให้เรียบร้อย เนื่องในเทศกาลวันพ่อ
7. รับโทรศัพท์ลูกค้า
สภาพปัญหา
1. ระบบไม่สามารถเชื่อมต่อ database ได้จึงทำให้ไม่สามารถออกคำร้องขอใช้ไฟฟ้าได้
2. กระดาษปริ้นหมด
3. เอกสารมีจำนวนเยอะที่เรียงอยู่ในแฟ้มเลยทำให้หาเอกสารที่เลขต่อเนื่องที่จะเรียงใหม่ไม่ค่อยเจอ4. ลูกค้าบางคนนำเอกสารมาไม่ครบและบางรายไม่ถูกต้อง
การแก้ปัญหา
1. เรียกผู้ดูแลระบบมาทำการแก้ไขให้
2. นำกระดาษมาใส่เพิ่ม
3. ค่อยๆหาเอกสารตามหมายเลขของแต่ละแฟ้มจนกว่าจะเจอ
4. ให้ลูกค้านำเอกสารมาใหม่และทำการตรวจสอบให้เรียบร้อย
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. สามารถที่จะทำการค้นหาเลข PEA ได้เมื่อเวลาที่พนักงานสำรวจข้อมุลมาผิดพลาด
2. เมื่อทำการเรียงเอกสารคำร้องได้อย่างถูกต้องเราสามารถที่จะค้นหาเอกสารได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 22 - 26 พฤศจิกายน 2553)
สภาพปัญหา
1. เอกสารที่นำมาเรียงบางฉบับมีเลขซ้ำกัน
2. กระดาษปริ้นงานหมด
การแก้ปัญหา
1. ทำการแก้ไขเอกสารที่มีเลขซ้ำกันโดยการเปลี่ยนตัวเลขที่เอกสาร
2. นำกระดาษมาเติมใส่เครื่องปริ้นงาน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. รู้วิธีการจัดเรียงลำดับเอกสารคำร้องใส่แฟ้มว่าเรียงจากเลขมากไปหาเลขน้อย
วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 15 - 19 พฤศจิกายน 2553)
งานที่ปฏิบัติ
1. เรียงเลขที่เอกสารแบบคำร้องขอใช้ไฟฟ้าตั้งแต่หมายเลข 5307345 - 5307446 เป็นจำนวน 101 ฉบับ
2. คีย์ข้อมูลแบบคำร้องขอใช้ไฟฟ้าที่พนักงานทำการสำรวจมาแล้ว 15 ฉบับ
3. ปริ้นแบบฟอร์มการสำรวจการติดตั้งมิเตอร์ 30 แผ่น
4. เช็คเงินประกันให้ลูกค้า 3 ราย
5. นำแฟ้มสรุปงานของแผนกบริการลูกค้าไปให้ผู้ช่วยคณิตเซ็นต์
สภาพปัญหา
1. หมายเลขของเอกสารแบบคำร้องขอใช้ไฟฟ้าบางเลขไม่มี
2. ข้อมูลที่พนักงานทำการสำรวจมาบางฉบับยังไม่ถูกต้อง
3. กระดาษที่ปริ้นเอกสารหมด
การแก้ปัญหา
1. ทำการเรียงเอกสารหมายเลขถัดไปโดยข้ามฉบับที่ไม่มี
2. รอให้ข้อมูลที่ทำการสำรวจมีความถูกต้องก่อนแล้วจึงค่อยคีย์ข้อมูลลงคอมพิวเตอร์
3. เติมกระดาษที่จะปริ้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. สามารถที่จะรู้วิธีการคีย์ข้อมูลลงในแบบคำร้องได้อย่างถูกต้องและเข้าใจ
วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 2(วันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2553)
งานที่ปฏิบัติ
1. บันทึกข้อมูลคำร้องขอใช้ไฟฟ้าที่พนักงานได้ทำการสำรวจแล้วลงคอมพิวเตอร์จำนวน 25 แบบฟอร์ม
2. เย็บเอกสารแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าจำนวน 30 ชุด
3. เดินไปถ่ายเอกสารเรื่อง "ค่าใช้จ่ายในการขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้า" 4 เรื่อง จำนวนเรื่องละ 4 ชุด
4. คีย์ข้อมูลผู้มาขอติดตั้งไฟฟ้าใหม่จำนวน 7 ราย และผู้มาขอไฟฟ้าชั่วคราวจำนวน 8 ราย
5. นำเอกสารเรื่อง "ค่าใช้จ่ายในการขยายระบบจำหน่ายไฟฟ้า" ไปออกเลขที่จำนวน 4 ชุด
6. กรอกหมายเลขมต.3 ในเอกสารแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าลงในหนังสือบันทึกแบบคำร้องขอใช้ไฟฟ้าจำนวน 15 รายการ
7. รับโทรศัพท์ลูกค้าที่โทรมาสอบถามเรื่องมิเตอร์จำนวน 15 สาย
8. ปั้มตรายางลงบนแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าจำนวน 25 ชุด
สภาพปัญหา
1. น้ำหมึกที่ปั๊มแห้ง
2. ตอบคำถามลูกค้าบางคนไม่ได้
3. คีย์ข้อมูลแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าไม่ครบ
การแก้ปัญหา
1. เติมน้ำหมึกที่ตลับหมึก
2. ให้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ในเรื่องที่ลูกค้าถามมาอธิบายแทน
3. ทำการคีย์ข้อมุลใหม่โดยการสอบถามจากลูกค้าที่มาติดต่อ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. เรียนรู้วิธีการออกเลขมต.3 ที่ถูกต้อง
2. สามารถเข้าใจวิธีการขอมิเตอร์ไฟฟ้า
วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
สัปดาห์ที่ 1(วันที่ 1–5 พฤศจิกายน 2553)
งานที่ปฏิบัติ
1.คีย์ข้อมูลเกี่ยวกับแบบคำขอร้องการใช้ไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์จำนวน 20 ราย
2.รับโทรศัพท์ลูกค้าที่โทรมาสอบถามเกี่ยวกับการขอใช้ไฟฟ้าจำนวน 10 ราย
3.ถ่ายเอกสารเกี่ยวกับเรื่อง "ค่าใช้จ่ายในการขยายระบบไฟฟ้า" จำนวน 10 ชุด
4.ทำการปั้มตรายางวันที่ลงบนเอกสารคำขอร้องการใช้ไฟฟ้าจำนวน 6 ชุด
5.ทำการเจาะตาไก่ลงบนเอกสารคำขอร้องการใช้ไฟฟ้าและนำเอกสารมาเรียงใส่ในแฟ้ม
ตั้งแต่หมายเลข 62 - 147 จำนวน 85 ชุด
6.พิมพ์แบบฟอร์มเรื่อง "งบประมาณ"จำนวน 19 แบบฟอร์ม และทำการปริ้นออกมาแบบฟอร์ม
ละ 2 ใบ จำนวน 38 ใบ
สภาพปัญหา
1.ยังไม่ค่อยเข้าใจขั้นตอนในการคีย์ข้อมูลแบบคำขอร้องการใช้ไฟฟ้า
2.กระดาษที่ทำการปริ้นเอกสารหมด
3.ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องมิเตอร์เวลาที่ลูกค้าโทรมาสอบถามข้อมูล
4.internet หลุดเวลาที่ใช้งานโปรแกรมในการคีย์ข้อมูล
การแก้ไขปัญหา
1.คอยถามพี่ที่ดูแลเวลาทำการคีย์ข้อมูลลงคอมพิวเตอร์
2.นำกระดาษมาใส่ในเครื่องปริ้น
3.เวลาที่ลูกค้าโทรมาสอบถามเรื่องมิเตอร์ให้คนที่ดูแลเรื่องมิเตอร์มาอธิบายให้ลูกค้าฟัง
4.ทำการเชื่อมต่อ internet ใหม่เวลาที่หลุด
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ทำให้รู้จักโปรแกรมที่ใช้ในการออกคำร้องขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้า
2.มีความรู้ในเรื่องการรับคำร้องขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้ามากขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ
1.การเรียนวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 3 นั้นทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย เช่น การมีระเบียบวินัยในตนเองมากขึ้น ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นทำให้เรารู้จักกริยา มารยาทว่าสถานที่ที่เราไปนั้นต้องนำกริยา มารยาทแบบไหนมาปฏิบัติให้เหมาะสมกับกาลเทศะ การได้เรียนรู้ประวัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในสมัยอดีต และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเงินและการตลาด ซึ่งความรู้ที่เราได้เรียนรู้มานั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในการทำงานได้
2.ได้รู้จักการมีความสามัคคีกันในหมู่คณะเพราะต้องทำงานกันเป็นกลุ่ม และยังได้รู้จักกับเพื่อนต่างห้องที่มาเรียนด้วยกันอีกด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆที่เราได้เรียนรู้มานั้นเป็นประโยชน์กับเรามากในการที่จะได้ออกไปฝึกงานภายในองค์กรและบริษัท
วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552
DTS11-15/09/2009
3. การเรียงลำดับแบบเร็ว(Quick Sort)การเรียงลำดับในลักษณะนี้ เป็นการปรับปรุงมาจากการเรียงลำดับแบบ Bubble เพื่อให้การเรียงลำดับเร็วขึ้น วีธีนี้เหมาะกับการเรียงข้อมูลที่มีจำนวนมาก หรือมีขนาดใหญ่ และเป็นวิธีการเรียงข้อมูลที่ให้ค่าเฉลี่ยของเวลาน้อยที่สุดเท่าที่ค้นพบวิธีหนึ่งการเรียงลำดับแบบ Quick Sortจะเป็นการเปรียบเทียบสมาชิกที่ไม่อยู่ติดกัน โดยกำหนดข้อมูลค่าหนึ่ง เพื่อแบ่งชุดข้อมูลที่ต้องการเรียงลำดับออกเป้น 2 ส่วน จากนั้นก็จะทำการแบ่งย่อยชุดข้อมูล 2 ส่วนนั้นลงไปอีก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนข้อมูลแต่ละชุดมีสมาชิกเหลือเพียงตัวเดียวและทำให้ชุดข้อมูลทั้งหมดมีการเรียงลำดับ
DTS10-08/09/2009
การจัดเรียง หรือเรียงลำดับข้อมูล (sorting) อาจเรียงจากค่ามากไปน้อย หรือจากค่าน้อยไปมากก็ได้
ประโยชน์ของการจัดเรียงข้อมูลนอกจากจะเป็นการจัดระเบียบข้อมูลแล้ว ยังช่วยทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยพื้นฐานการเรียงลำดับข้อมูลในคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-การจัดเรียงภายใน (internal sorting) การจัดเรียงแบบนี้ ข้อมูลที่จะถูกจัดเรียงต้องเก็บ หรือใช้
หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) เป็นหลักในการประมวลผลโดยใช้โครงสร้างข้อมูล เช่น อาร์เรย์หรือลิงก์ลิสต์ร่วมด้วย
-การจัดเรียงภายนอก (external sorting) กรณีที่ข้อมูลจำนวนมากไม่สามารถนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ (RAM) เพื่อประมวลผลได้ทั้งหมด (พึงระลึกไว้ว่า CPU ไม่สามารถประมวลผลกับสื่อข้อมูลที่
เป็นดิสก์ได้) ดังนั้นการจัดเรียงจะทำการจัดเรียงภายนอก โดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ซึ่งบางส่วนจะคงไว้ในดิสก์ และทยอยนำข้อมูลบางส่วนเข้าสู่หน่วยความจำ (RAM) เพื่อทำการจัดเรียง
1. การเรียงลำดับแบบเลือก (Selection Sort)
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเรียงลำดับข้อมูล โดยเริ่มจาก
- หาตำแหน่งของข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดแล้วสลับค่าของตำแหน่งข้อมูลนั้นกับค่าข้อมูลในตำแหน่ง A(1) จะได้ A(1) มีค่าน้อยที่สุด
- หาตำแหน่งของข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดในกลุ่ม A(2), A(3),....,A(n) แล้วทำกับสลับค่าข้อมูลในตำแหน่ง A(2) อย่างนี้เรื่อยไปจน กระทั่งไม่เกิน N-1 รอบ ก็จะได้ข้อมูลที่เรียงลำดับจากน้อยไปมาก
2. การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort) หลักของการเรียงแบบนี้คือ จะเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนข้อมูล 2 ค่าที่อยู่ติดกันในลักษณะที่เรากำหนด เช่น จากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย โดยจะทำการเปรียบเทียบข้อมูลทั้งชุดจนกว่าจะมีการเรียงตามลำดับทั้งหมดขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552
DTS09-01/09/2009
กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ (1) โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์(Vertexes) (2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges) กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่ากราฟแบบไม่มีทิศทาง (Undirected Graphs)
และถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบมีทิศทาง(Directed Graphs)บางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ (Digraph)
การเขียนกราฟเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ ของสิ่งที่เราสนใจแทนโหนดด้วย จุด (pointes) หรือวงกลม (circles)
การแทนกราฟในหน่วยความจำ
สิ่งที่ต้องการจัดเก็บ จากกราฟโดยทั่วไปก็คือ เอ็จ ซึ่งเป็นเส้นเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด มีวิธีการจัดเก็บหลายวิธี วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุดคือ การเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ
วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552
DTS08-25/08/2009
ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น (Hierarchical Relationship)ไ ด้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ส่วนมากจะใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล เช่น แผนผังองค์ประกอบของหน่วยงานต่าง ๆโครงสร้างสารบัญหนังสือ เป็นต้น
แต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลาย ๆ โหนดเรียกโหนดดังกล่าวว่า โหนดแม่ (Parent or Mother Node)โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)
โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่า
โหนดใบ (Leave Node)เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง (Branch)
เอ็กซ์เพรสชันทรี (Expression Tree)
เป็นการนำเอาโครงสร้างทรีไปใช้เก็บนิพจน์ทางคณิตศาสตร์โดยเป็นไบนารีทรี ซึ่งแต่ละโหนดเก็บตัวดำเนินการ (Operator) และและตัวถูกดำเนินการ(Operand) ของนิพจน์คณิตศาสตร์นั้น ๆ ไว้ หรืออาจจะเก็บค่านิพจน์ทางตรรกะ (Logical Expression)นิพจน์เหล่านี้เมื่อแทนในทรีต้องคำนึงลำดับขั้นตอนในการคำนวณตามความสำคัญของเครื่องหมายด้วยโดยมีความสำคัญตามลำดับดังนี้
- ฟังก์ชัน
- วงเล็บ
- ยกกำลัง
- เครื่องหมายหน้าเลขจำนวน (unary)
- คูณ หรือ หาร
- บวก หรือ ลบ
- ถ้ามีเครื่องหมายที่ระดับเดียวกัน
ให้ทำจากซ้ายไปขวา
การแทนนิพจน์ในเอ็กซ์เพรสชันทรี ตัวถูกดำเนินการจะเก็บอยู่ที่โหนดใบ ส่วนตัวดำเนินการจะเก็บในโหนดกิ่ง หรือโหนดที่ไม่ใช่โหนดใบ เช่น นิพจน์ A + B สามารถแทนในเอ็กซ์เพรสชันทรีได้ดังนี้
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552
DTS07-11/08/2009
คิวเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบลำดับ (Sequential) ลักษณะของคิวเราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเข้าแถวตามคิวเพื่อรอรับบริการต่างๆ ลำดับการสั่งพิมพ์งาน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าลักษณะของการทำงานจะเป็นแบบใครมาเข้าคิวก่อน จะได้รับบริการก่อน เรียกได้ว่าเป็นลักษณะการทำงานแบบ FIFO (First In , First Out) ลักษณะของคิว จะมีปลายสองข้าง ซึ่งข้างหนึ่งจะเป็นช่องทางสำหรับข้อมูลเข้าที่เรียกว่า REAR และอีกข้างหนึ่งซึ่งจะเป็นช่องทางสำหรับข้อมูลออก เรียกว่า FRONT
ในการทำงานกับคิวที่ต้องมีการนำข้อมูลเข้าและออกนั้น จะต้องมีการตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่ เมื่อต้องการนำข้อมูลเข้า เพราะหากคิวเต็มก็จะไม่สามารถทำการนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกัน เมื่อต้องการนำข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยเช่นกัน ว่าในคิวมีข้อมูลอยู่หรือไม่ หากคิวไม่มีข้อมูลก็จะไม่สามารถนำข้อมูลออกได้เช่นกัน
การกระทำกับคิว
-การเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิวการจะเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว จะกระทำที่ตำแหน่ง REAR หรือท้ายคิว และก่อนที่จะเพิ่มข้อมูลจะต้องตรวจสอบก่อนว่าคิวเต็มหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบค่า REAR ว่า เท่ากับค่า MAX QUEUE หรือไม่ หากว่าค่า REAR = MAX QUEUE แสดงว่าคิวเต็มไม่สามารถเพิ่มข้อมูลได้ แต่หากไม่เท่า แสดงว่าคิวยังมีที่ว่างสามารถเพิ่มข้อมูลได้ เมื่อเพิ่มข้อมูลเข้าไปแล้ว ค่า REAR ก็จะเป็นค่าตำแหน่งท้ายคิวใหม่
-การนำข้อมูลออกจากคิวการนำข้อมูลออกจากคิวจะกระทำที่ตำแหน่ง FRONT หรือส่วนที่เป็นหัวของคิว โดยก่อนที่จะนำข้อมูลออกจากคิวจะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่ามีข้อมูลอยู่ในคิวหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลในคิวหรือว่าคิวว่าง ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลออกจากคิวได้
วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552
DTS06-04/08/2009
การใช้ สแตค เพื่อแปลรูปนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
รูปแบบนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
• นิพจน์ Infix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่ระหว่างตัวดำเนินการ (Operands) เช่น A+B-C
• นิพจน์ Prefix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่หน้าตัวดำเนินการ (Operands) เช่น +-AB
• นิพจน์ Postfix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่หลังตัวดำเนินการ (Operands) เช่น AC*+
ลำดับการทำงานของตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Operator Priority)
มีการลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการจากลำดับสำคัญมากสุดไปน้อยสุด คือ ลำดับที่มีความสำคัญมากที่ต้องทำก่อน ไปจนถึงลำดับที่มีความสำคัญน้อยสุดที่ไว้ทำทีหลัง ดังนี้
ทำในเครื่องหมายวงเล็บ
เครื่องหมายยกกำลัง ( ^ )
เครื่องหมายคูณ ( * ) , หาร ( / )
เครื่องหมายบวก ( + ) , ลบ ( - )
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
DTS05-28/07/2009
ลิงค์ลิสต์เป็นการจัดเก็บชุดข้อมูลเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปตามลำดับ ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะแบบเชิงเส้นตรง (linear) หรือ ไม่เป็นเส้นตรง (nonlinear) ก็ได้ ซึ่งในลิสต์จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เรียกว่าโหนด (node) ในหนึ่งโหนดจะประกอบด้วยส่วนของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ เรียกว่าส่วน Info และส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดถัดไป (Link) หรือชี้ไปยังโหนดอื่นๆที่อยู่ในลิสต์ หากไม่มีโหนดที่อยู่ถัดไป ส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์หรือ Link จะเก็บค่า NULL หรือ NILL ใช้สัญลักษณ์ ^
โครงสร้างแบบ Linked list แบ่งได้หลายแบบตามวิธีการชี้ไปยังโหนดต่างๆ เช่น Singly Linked list , Doubly Linked list , Multi-Linked list
1.Singly Linked listSingly Linked list จะประกอบด้วยโหนดที่มีพอยน์เตอร์ชี้ไปในทิศทางเดียว คือชี้ไปยังโหนดถัดไป
2. Doubly linked list ประกอบด้วยส่วนของ Info และ พอยน์เตอร์ที่ชี้ไป 2 ทิศทาง คือ ชี้ไปยังโหนดถัดไป และชี้ไปยังโหนดก่อนหน้า ดังนั้นเราจึงสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ 2 วิธี คือ การอ่านไปข้างหน้า และอ่านไปทางข้างหลัง
วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
DTS04-14/07/2009
สรุปset และ string มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ตและโครงสร้างข้อมูลแบบสตริงโครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กันในภาษาซีจะไม่มีประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับในภาษาปาสคาลแต่สามารถใช้หลักการของการดำเนินงานแบบเซ็ตมาใช้ได้โครงสร้างข้อมูลแบบสตริงสตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (Character String) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วยตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่างการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริงมีการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาการข้อความหรือโปรแกรมประเภทประมวลผลการกำหนดสตริง
การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ
1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์
การกำหนดตัวแปรสตริงในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการของอะเรย์เพราะสตริงคืออะเรยืของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character (\0)และมีฟังชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะอะเรย์ของสตริงถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียนโปรแกรมได้สะดวกการสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้นและแบบที่กำหนดเป็นตัวแปรฟังก์ชัน puts () ใช้ในการพิมพ์สตริงออกทางจอภาพโดยการผ่านค่าแอดเดรสของสตริงไปให้เท่านั้น ข้อสังเกต การกำหนดอะเรย์ของสตริงในลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่อะเรย์ที่แท้จริงตามหลักการของอะเรย์ เนื่องจากขนาดของช่องในอะเรย์ไม่เท่ากัน แต่อนุโลมให้ถือว่าเป็นอะเรย์การดำเนินการเกี่ยวกับสตริงในการดำเนินการเกี่ยวกับสตริง จะมีฟังก์ชันที่อยู่ในแฟ้ม ข้อมูล stdio.hเก็บอยู่ใน C Libraly อยู่แล้วสามารถนำมาใช้ได้ โดยการใช้คำสั่ง #include ในการเรียกใช้ เช่น- ฟังก์ชัน strlen(str) ใช้หาความยาวของสตริง- ฟังก์ชัน strcpy(str1,str2) ใช้คัดลอกข้อมูลจาก string หนึ่งไปยังอีก string หนึ่ง- ฟังก์ชัน strcat(str1,str2) ใช้เชื่อมต่อข้อความ 2 ข้อความเข้าด้วยกัน- ฟังก์ชัน strcmp(str1,str2) ใช้เปรียบเทียบข้อความ 2 ข้อความว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ถือหลักการเปรียบเทียบแบบพจนานุกรม
#include"iostream.h"
int main()
{
cout <<>
cout << " ### Hello my friend ! ###";
cout <<>
cout << " How are you?" <<>
cout << " I'm fine thanks."<<>
cout << " I'm a programer.";
cout <<>
cout <<>
cout << " Bye bye";
return 0;
}
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
DTS03-30/06/2009
ทำให้เรารู้ว่าตัวแปรอาเรย์สามารถเก็บข้อมูลหลายๆข้อมูลไว้ได้โดยไม่ต้องใช้ตัวแปรหลายตัว เช่นถ้าต้องการเก็บอายุของเพื่อนทั้ง 20 คน ถ้าเราใช้ตัวแปรแบบ int เราจะต้องประกาศตัวแปร age1, age2, age3,.....,age20 ให้เป็นแบบ int ซึ่งเป็นการประกาศตัวแปรถึง 20 ตัวด้วยกัน แต่ถ้าใช้อาเรย์เราประกาศตัวแปร age ให้เป็นอาเรย์แบบ int เพียงตัวเดียวก็สามารถเก็บค่าทั้ง 20 ค่าได้แล้ว
และทำให้ได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับ structure มากขึ้นว่าสามารถกำหนดให้ตัวแปรอื่น ๆ มีโครงสร้างข้อมูลเหมือนกับ structure ที่ประกาศไว้ได้โดยใช้คำสั่ง struct
รูปแบบ
struct struc-name struc-variable;
ถ้ามีหลายตัวแปรจะคั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า ( ,)
สิ่งที่อยากทราบเพิ่มเติม
ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าระหว่าง array กับ Pointer นั้นเก็บค่าไว้ตรงไหนและการเก็บค่านั้นต่างกันอย่างไร คิดว่าคงต้องอ่านทบทวนเพิ่มเติมค่ะ
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552
DTS02-23/06/2009
void main()
{
struct address{
int number_address;
char district[30];
char amphur[30];
char province[30];
int code;
char road[30];
char country[30];
char nearly_province [30];
}student;
printf("My_address\n");
printf("=============================\n");
printf("My number address is :");
scanf("%d",&student.number_address);
printf("\nMy district is :");
scanf("%s",&student.district);
printf("\nMy amphur is");
scanf("%s",&student.amphur);
printf("\nMy province is:");
scanf("%s",&student.province);
printf("\nMy code is :");
scanf("%d",&student.code);
printf("\nMy road is:") ;
scanf("%s",&student.road);
printf("\nMy country is:");
scanf("%s",&student.country);
printf("\nMy nearly_province is:");
scanf("%s", &student.nearly_province);
printf("=============================\n");
printf("My number address is %d\n",student.number_address);
printf("My district is %s\n",student.district);
printf("My amphur is %s\n",student.amphur);
printf("My province is %s\n",student.province);
printf("My code is %d\n",student.code);
printf("My road is %s\n",student.road);
printf("My country is %s\n",student.country);
printf("My nearly_province %s\n",student.nearly_province);
}
สิ่งที่ได้จากเรียน Data structures ก็คือทำให้เข้าใจความหมายของโครงสร้างข้อมูลมากยิ่งขึ้นว่าโครงสร้างข้อมูลนั้นแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ซึ่งแบ่งเป็น 4 แบบได้แก่
1.โครงสร้างข้อมูลแบบเซต (set)
2.โครงสร้างแบบเชิงเส้น (linear)
3.โครงสร้างแบบต้นไม้หรือแบบลำดับขั้น (tree or hierarchical)
4.โครงสร้างแบบกราฟหรือเครือข่าย (graph or network)
ส่วนการเรียนเรื่อง Algorithm นั้นทำให้เข้าใจว่าอัลกอรึทึมเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร แต่เวลาลงมือเขียนจะยังไม่ค่อยเป็นเท่าไรเพราะว่ายังไม่ค่อยรู้ว่าการทำงานแบบวนซ้ำนั้นต้องใช้ในกรณีใดบ้าง
วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552
ประวัติ
Miss.Noppawan Kummanee
หลักสูตร บริหารธุรกิจ ( คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ) คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
E-mail:U50132792015@gmail.com