วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้จากการเรียนวิชา การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 3

1.การเรียนวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 3 นั้นทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย เช่น การมีระเบียบวินัยในตนเองมากขึ้น ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นทำให้เรารู้จักกริยา มารยาทว่าสถานที่ที่เราไปนั้นต้องนำกริยา มารยาทแบบไหนมาปฏิบัติให้เหมาะสมกับกาลเทศะ การได้เรียนรู้ประวัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในสมัยอดีต และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเงินและการตลาด ซึ่งความรู้ที่เราได้เรียนรู้มานั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในการทำงานได้

2.ได้รู้จักการมีความสามัคคีกันในหมู่คณะเพราะต้องทำงานกันเป็นกลุ่ม และยังได้รู้จักกับเพื่อนต่างห้องที่มาเรียนด้วยกันอีกด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆที่เราได้เรียนรู้มานั้นเป็นประโยชน์กับเรามากในการที่จะได้ออกไปฝึกงานภายในองค์กรและบริษัท

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS11-15/09/2009

Sorting


3. การเรียงลำดับแบบเร็ว(Quick Sort)การเรียงลำดับในลักษณะนี้ เป็นการปรับปรุงมาจากการเรียงลำดับแบบ Bubble เพื่อให้การเรียงลำดับเร็วขึ้น วีธีนี้เหมาะกับการเรียงข้อมูลที่มีจำนวนมาก หรือมีขนาดใหญ่ และเป็นวิธีการเรียงข้อมูลที่ให้ค่าเฉลี่ยของเวลาน้อยที่สุดเท่าที่ค้นพบวิธีหนึ่งการเรียงลำดับแบบ Quick Sortจะเป็นการเปรียบเทียบสมาชิกที่ไม่อยู่ติดกัน โดยกำหนดข้อมูลค่าหนึ่ง เพื่อแบ่งชุดข้อมูลที่ต้องการเรียงลำดับออกเป้น 2 ส่วน จากนั้นก็จะทำการแบ่งย่อยชุดข้อมูล 2 ส่วนนั้นลงไปอีก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนข้อมูลแต่ละชุดมีสมาชิกเหลือเพียงตัวเดียวและทำให้ชุดข้อมูลทั้งหมดมีการเรียงลำดับ




4 .การเรียงลำดับแบบแทรก(Insertion Sort) การเรียงลำดับที่ง่ายไม่ซับซ้อน เป็นการนำข้อมูลใหม่เพิ่มเข้าไปในชุดข้อมูลที่มีการเรียงลำดับอยู่แล้ว โดยข้อมูลใหม่ที่นำเข้ามาจะแทรกอยู่ในตำแหน่งทางขวาของชุดข้อมูลเดิม และยังคงทำให้ข้อมูลทั้งหมดมีการเรียงลำดับ




5. การเรียงลำดับแบบฐาน (radix sort) เป็นการเรียงลำดับโดยการพิจารณาข้อมูลทีละหลัก เริ่มพิจารณาจากหลักที่มีค่าน้อยที่สุดก่อน นั่นคือถ้าข้อมูลเป็นเลขจำนวนเต็มจะพิจารณาหลักหน่วยก่อน การจัดเรียงจะนำข้อมูลเข้ามาทีละตัว แล้วนำไปเก็บไว้ที่ซึ่งจัดไว้สำหรับค่านั้น เป็นกลุ่ม ๆ ตามลำดับการเข้ามา

DTS10-08/09/2009

Sorting



การจัดเรียง หรือเรียงลำดับข้อมูล (sorting) อาจเรียงจากค่ามากไปน้อย หรือจากค่าน้อยไปมากก็ได้
ประโยชน์ของการจัดเรียงข้อมูลนอกจากจะเป็นการจัดระเบียบข้อมูลแล้ว ยังช่วยทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยพื้นฐานการเรียงลำดับข้อมูลในคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ




-การจัดเรียงภายใน (internal sorting) การจัดเรียงแบบนี้ ข้อมูลที่จะถูกจัดเรียงต้องเก็บ หรือใช้
หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ (RAM) เป็นหลักในการประมวลผลโดยใช้โครงสร้างข้อมูล เช่น อาร์เรย์หรือลิงก์ลิสต์ร่วมด้วย
-การจัดเรียงภายนอก (external sorting) กรณีที่ข้อมูลจำนวนมากไม่สามารถนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ (RAM) เพื่อประมวลผลได้ทั้งหมด (พึงระลึกไว้ว่า CPU ไม่สามารถประมวลผลกับสื่อข้อมูลที่
เป็นดิสก์ได้) ดังนั้นการจัดเรียงจะทำการจัดเรียงภายนอก โดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ซึ่งบางส่วนจะคงไว้ในดิสก์ และทยอยนำข้อมูลบางส่วนเข้าสู่หน่วยความจำ (RAM) เพื่อทำการจัดเรียง




1. การเรียงลำดับแบบเลือก (Selection Sort)
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเรียงลำดับข้อมูล โดยเริ่มจาก
- หาตำแหน่งของข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดแล้วสลับค่าของตำแหน่งข้อมูลนั้นกับค่าข้อมูลในตำแหน่ง A(1) จะได้ A(1) มีค่าน้อยที่สุด
- หาตำแหน่งของข้อมูลที่มีค่าน้อยที่สุดในกลุ่ม A(2), A(3),....,A(n) แล้วทำกับสลับค่าข้อมูลในตำแหน่ง A(2) อย่างนี้เรื่อยไปจน กระทั่งไม่เกิน N-1 รอบ ก็จะได้ข้อมูลที่เรียงลำดับจากน้อยไปมาก



2. การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort) หลักของการเรียงแบบนี้คือ จะเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนข้อมูล 2 ค่าที่อยู่ติดกันในลักษณะที่เรากำหนด เช่น จากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย โดยจะทำการเปรียบเทียบข้อมูลทั้งชุดจนกว่าจะมีการเรียงตามลำดับทั้งหมดขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS09-01/09/2009

กราฟ (Graph)

กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ (1) โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์(Vertexes) (2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges) กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่ากราฟแบบไม่มีทิศทาง (Undirected Graphs)

และถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบมีทิศทาง(Directed Graphs)บางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ (Digraph)

การเขียนกราฟเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ ของสิ่งที่เราสนใจแทนโหนดด้วย จุด (pointes) หรือวงกลม (circles)

การแทนกราฟในหน่วยความจำ

สิ่งที่ต้องการจัดเก็บ จากกราฟโดยทั่วไปก็คือ เอ็จ ซึ่งเป็นเส้นเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด มีวิธีการจัดเก็บหลายวิธี วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุดคือ การเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS08-25/08/2009

Tree


ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น (Hierarchical Relationship)ไ ด้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ส่วนมากจะใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล เช่น แผนผังองค์ประกอบของหน่วยงานต่าง ๆโครงสร้างสารบัญหนังสือ เป็นต้น


แต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลาย ๆ โหนดเรียกโหนดดังกล่าวว่า โหนดแม่ (Parent or Mother Node)โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)
โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่า

โหนดใบ (Leave Node)เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง (Branch)


เอ็กซ์เพรสชันทรี (Expression Tree)

เป็นการนำเอาโครงสร้างทรีไปใช้เก็บนิพจน์ทางคณิตศาสตร์โดยเป็นไบนารีทรี ซึ่งแต่ละโหนดเก็บตัวดำเนินการ (Operator) และและตัวถูกดำเนินการ(Operand) ของนิพจน์คณิตศาสตร์นั้น ๆ ไว้ หรืออาจจะเก็บค่านิพจน์ทางตรรกะ (Logical Expression)นิพจน์เหล่านี้เมื่อแทนในทรีต้องคำนึงลำดับขั้นตอนในการคำนวณตามความสำคัญของเครื่องหมายด้วยโดยมีความสำคัญตามลำดับดังนี้


- ฟังก์ชัน
- วงเล็บ
- ยกกำลัง
- เครื่องหมายหน้าเลขจำนวน (unary)
- คูณ หรือ หาร
- บวก หรือ ลบ
- ถ้ามีเครื่องหมายที่ระดับเดียวกัน
ให้ทำจากซ้ายไปขวา



การแทนนิพจน์ในเอ็กซ์เพรสชันทรี ตัวถูกดำเนินการจะเก็บอยู่ที่โหนดใบ ส่วนตัวดำเนินการจะเก็บในโหนดกิ่ง หรือโหนดที่ไม่ใช่โหนดใบ เช่น นิพจน์ A + B สามารถแทนในเอ็กซ์เพรสชันทรีได้ดังนี้











วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS07-11/08/2009

Queue



คิวเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบลำดับ (Sequential) ลักษณะของคิวเราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเข้าแถวตามคิวเพื่อรอรับบริการต่างๆ ลำดับการสั่งพิมพ์งาน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าลักษณะของการทำงานจะเป็นแบบใครมาเข้าคิวก่อน จะได้รับบริการก่อน เรียกได้ว่าเป็นลักษณะการทำงานแบบ FIFO (First In , First Out) ลักษณะของคิว จะมีปลายสองข้าง ซึ่งข้างหนึ่งจะเป็นช่องทางสำหรับข้อมูลเข้าที่เรียกว่า REAR และอีกข้างหนึ่งซึ่งจะเป็นช่องทางสำหรับข้อมูลออก เรียกว่า FRONT




ในการทำงานกับคิวที่ต้องมีการนำข้อมูลเข้าและออกนั้น จะต้องมีการตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่ เมื่อต้องการนำข้อมูลเข้า เพราะหากคิวเต็มก็จะไม่สามารถทำการนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกัน เมื่อต้องการนำข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยเช่นกัน ว่าในคิวมีข้อมูลอยู่หรือไม่ หากคิวไม่มีข้อมูลก็จะไม่สามารถนำข้อมูลออกได้เช่นกัน

การกระทำกับคิว

-การเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิวการจะเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว จะกระทำที่ตำแหน่ง REAR หรือท้ายคิว และก่อนที่จะเพิ่มข้อมูลจะต้องตรวจสอบก่อนว่าคิวเต็มหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบค่า REAR ว่า เท่ากับค่า MAX QUEUE หรือไม่ หากว่าค่า REAR = MAX QUEUE แสดงว่าคิวเต็มไม่สามารถเพิ่มข้อมูลได้ แต่หากไม่เท่า แสดงว่าคิวยังมีที่ว่างสามารถเพิ่มข้อมูลได้ เมื่อเพิ่มข้อมูลเข้าไปแล้ว ค่า REAR ก็จะเป็นค่าตำแหน่งท้ายคิวใหม่

-การนำข้อมูลออกจากคิวการนำข้อมูลออกจากคิวจะกระทำที่ตำแหน่ง FRONT หรือส่วนที่เป็นหัวของคิว โดยก่อนที่จะนำข้อมูลออกจากคิวจะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่ามีข้อมูลอยู่ในคิวหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลในคิวหรือว่าคิวว่าง ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลออกจากคิวได้


วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS06-04/08/2009

สแตค (Stack) สแตคเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีลักษณะแบบลำดับ (sequential) คือการกระทำกับข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างเดียวกันที่ส่วนปลายสุดของสแตค การกระทำกับข้อมูลของสแตคประกอบไปด้วยการนำเข้าข้อมูลเข้า (PUSH) ที่ส่วนบนสุดของสแตค และการนำข้อมูลออก (POP) ที่ส่วนบนสุดของสแตคเช่นกัน ในการจะ Push ข้อมูลเข้าก็ต้องตรวจสอบด้วยว่าข้อมูลในสแตคเต็มหรือไม่ หากสแตคเต็มก็จะไม่สามารถ Push หรือนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกับการ Pop ข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยว่ามีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือสแตคว่าง (empty stack) ก็ไม่สามารถ pop ได้การนำข้อมูลเข้า-ออก จากสแตค (push , pop) จะมีลักษณะแบบเข้าหลัง ออกก่อน (LIFO : Last In , First Out) คือ ข้อมูลที่เข้าไปในสแตคลำดับหลังสุด จะถูกนำข้อมูลออกจากสแตคเป็นลำดับแรก ยกตัวอย่างการทำงานแบบ LIFO เช่น การวางจานซ้อนกัน

การใช้ สแตค เพื่อแปลรูปนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
รูปแบบนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
• นิพจน์ Infix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่ระหว่างตัวดำเนินการ (Operands) เช่น A+B-C
• นิพจน์ Prefix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่หน้าตัวดำเนินการ (Operands) เช่น +-AB
• นิพจน์ Postfix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่หลังตัวดำเนินการ (Operands) เช่น AC*+

ลำดับการทำงานของตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Operator Priority)
มีการลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการจากลำดับสำคัญมากสุดไปน้อยสุด คือ ลำดับที่มีความสำคัญมากที่ต้องทำก่อน ไปจนถึงลำดับที่มีความสำคัญน้อยสุดที่ไว้ทำทีหลัง ดังนี้
ทำในเครื่องหมายวงเล็บ
เครื่องหมายยกกำลัง ( ^ )
เครื่องหมายคูณ ( * ) , หาร ( / )
เครื่องหมายบวก ( + ) , ลบ ( - )

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS05-28/07/2009

Linked List
ลิงค์ลิสต์เป็นการจัดเก็บชุดข้อมูลเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปตามลำดับ ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะแบบเชิงเส้นตรง (linear) หรือ ไม่เป็นเส้นตรง (nonlinear) ก็ได้ ซึ่งในลิสต์จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เรียกว่าโหนด (node) ในหนึ่งโหนดจะประกอบด้วยส่วนของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ เรียกว่าส่วน Info และส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดถัดไป (Link) หรือชี้ไปยังโหนดอื่นๆที่อยู่ในลิสต์ หากไม่มีโหนดที่อยู่ถัดไป ส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์หรือ Link จะเก็บค่า NULL หรือ NILL ใช้สัญลักษณ์ ^

โครงสร้างแบบ Linked list แบ่งได้หลายแบบตามวิธีการชี้ไปยังโหนดต่างๆ เช่น Singly Linked list , Doubly Linked list , Multi-Linked list

1.Singly Linked listSingly Linked list จะประกอบด้วยโหนดที่มีพอยน์เตอร์ชี้ไปในทิศทางเดียว คือชี้ไปยังโหนดถัดไป
2. Doubly linked list ประกอบด้วยส่วนของ Info และ พอยน์เตอร์ที่ชี้ไป 2 ทิศทาง คือ ชี้ไปยังโหนดถัดไป และชี้ไปยังโหนดก่อนหน้า ดังนั้นเราจึงสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ 2 วิธี คือ การอ่านไปข้างหน้า และอ่านไปทางข้างหลัง

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS04-14/07/2009

สรุปset และ string มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ตและโครงสร้างข้อมูลแบบสตริงโครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กันในภาษาซีจะไม่มีประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับในภาษาปาสคาลแต่สามารถใช้หลักการของการดำเนินงานแบบเซ็ตมาใช้ได้โครงสร้างข้อมูลแบบสตริงสตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (Character String) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วยตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่างการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริงมีการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาการข้อความหรือโปรแกรมประเภทประมวลผลการกำหนดสตริง

การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ

1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว

2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์

การกำหนดตัวแปรสตริงในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการของอะเรย์เพราะสตริงคืออะเรยืของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character (\0)และมีฟังชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะอะเรย์ของสตริงถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียนโปรแกรมได้สะดวกการสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้นและแบบที่กำหนดเป็นตัวแปรฟังก์ชัน puts () ใช้ในการพิมพ์สตริงออกทางจอภาพโดยการผ่านค่าแอดเดรสของสตริงไปให้เท่านั้น ข้อสังเกต การกำหนดอะเรย์ของสตริงในลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่อะเรย์ที่แท้จริงตามหลักการของอะเรย์ เนื่องจากขนาดของช่องในอะเรย์ไม่เท่ากัน แต่อนุโลมให้ถือว่าเป็นอะเรย์การดำเนินการเกี่ยวกับสตริงในการดำเนินการเกี่ยวกับสตริง จะมีฟังก์ชันที่อยู่ในแฟ้ม ข้อมูล stdio.hเก็บอยู่ใน C Libraly อยู่แล้วสามารถนำมาใช้ได้ โดยการใช้คำสั่ง #include ในการเรียกใช้ เช่น- ฟังก์ชัน strlen(str) ใช้หาความยาวของสตริง- ฟังก์ชัน strcpy(str1,str2) ใช้คัดลอกข้อมูลจาก string หนึ่งไปยังอีก string หนึ่ง- ฟังก์ชัน strcat(str1,str2) ใช้เชื่อมต่อข้อความ 2 ข้อความเข้าด้วยกัน- ฟังก์ชัน strcmp(str1,str2) ใช้เปรียบเทียบข้อความ 2 ข้อความว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ถือหลักการเปรียบเทียบแบบพจนานุกรม

#include"iostream.h"

int main()

{

cout <<>

cout << " ### Hello my friend ! ###";

cout <<>

cout << " How are you?" <<>

cout << " I'm fine thanks."<<>

cout << " I'm a programer.";

cout <<>

cout <<>

cout << " Bye bye";


return 0;

}

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS03-30/06/2009

สิ่งที่ได้จากการเรียนอาทิตย์นี้
ทำให้เรารู้ว่าตัวแปรอาเรย์สามารถเก็บข้อมูลหลายๆข้อมูลไว้ได้โดยไม่ต้องใช้ตัวแปรหลายตัว เช่นถ้าต้องการเก็บอายุของเพื่อนทั้ง 20 คน ถ้าเราใช้ตัวแปรแบบ int เราจะต้องประกาศตัวแปร age1, age2, age3,.....,age20 ให้เป็นแบบ int ซึ่งเป็นการประกาศตัวแปรถึง 20 ตัวด้วยกัน แต่ถ้าใช้อาเรย์เราประกาศตัวแปร age ให้เป็นอาเรย์แบบ int เพียงตัวเดียวก็สามารถเก็บค่าทั้ง 20 ค่าได้แล้ว
และทำให้ได้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับ structure มากขึ้นว่าสามารถกำหนดให้ตัวแปรอื่น ๆ มีโครงสร้างข้อมูลเหมือนกับ structure ที่ประกาศไว้ได้โดยใช้คำสั่ง struct
รูปแบบ
struct struc-name struc-variable;
ถ้ามีหลายตัวแปรจะคั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า ( ,)

สิ่งที่อยากทราบเพิ่มเติม
ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าระหว่าง array กับ Pointer นั้นเก็บค่าไว้ตรงไหนและการเก็บค่านั้นต่างกันอย่างไร คิดว่าคงต้องอ่านทบทวนเพิ่มเติมค่ะ

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02-23/06/2009

#include
void main()
{
struct address{
int number_address;
char district[30];
char amphur[30];
char province[30];
int code;
char road[30];
char country[30];
char nearly_province [30];
}student;
printf("My_address\n");
printf("=============================\n");
printf("My number address is :");
scanf("%d",&student.number_address);
printf("\nMy district is :");
scanf("%s",&student.district);
printf("\nMy amphur is");
scanf("%s",&student.amphur);
printf("\nMy province is:");
scanf("%s",&student.province);
printf("\nMy code is :");
scanf("%d",&student.code);
printf("\nMy road is:") ;
scanf("%s",&student.road);
printf("\nMy country is:");
scanf("%s",&student.country);
printf("\nMy nearly_province is:");
scanf("%s", &student.nearly_province);
printf("=============================\n");
printf("My number address is %d\n",student.number_address);
printf("My district is %s\n",student.district);
printf("My amphur is %s\n",student.amphur);
printf("My province is %s\n",student.province);
printf("My code is %d\n",student.code);
printf("My road is %s\n",student.road);
printf("My country is %s\n",student.country);
printf("My nearly_province %s\n",student.nearly_province);
}
สิ่งที่ได้จากเรียน Data structures ก็คือทำให้เข้าใจความหมายของโครงสร้างข้อมูลมากยิ่งขึ้นว่าโครงสร้างข้อมูลนั้นแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล ซึ่งแบ่งเป็น 4 แบบได้แก่
1.โครงสร้างข้อมูลแบบเซต (set)
2.โครงสร้างแบบเชิงเส้น (linear)
3.โครงสร้างแบบต้นไม้หรือแบบลำดับขั้น (tree or hierarchical)
4.โครงสร้างแบบกราฟหรือเครือข่าย (graph or network)

ส่วนการเรียนเรื่อง Algorithm นั้นทำให้เข้าใจว่าอัลกอรึทึมเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร แต่เวลาลงมือเขียนจะยังไม่ค่อยเป็นเท่าไรเพราะว่ายังไม่ค่อยรู้ว่าการทำงานแบบวนซ้ำนั้นต้องใช้ในกรณีใดบ้าง

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ

นางสาวนพวรรณ คำมณี รหัสประจำตัว 50132792015

Miss.Noppawan Kummanee

หลักสูตร บริหารธุรกิจ ( คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ) คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

E-mail:U50132792015@gmail.com